วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555

**นาฬิกาชีวิต**


01.00 น. - 03.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"ตับ"

ข้อควรปฏิบัติ : นอนหลับพักผ่อนให้สนิท
อาหารบำรุง : อาหารที่ช่วยล้างพิษ เช่น งา น้ำผลไม้และน้ำสะอาด

03.00 น. - 05.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"ปอด"

ข้อควรปฏิบัติ : ตื่นนอน สูดอากาศสดชื่น
อาหารบำรุง : อาหารจำพวกเบต้าแคโรทีนและวิตามินเอสูง เช่น ส้ม ผักใบเขียว น้ำผึ้ง หอมใหญ่

05.00 น. - 07.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"ลำไส้ใหญ่"

ข้อควรปฏิบัติ : ขับถ่ายอุจจาระ
อาหารบำรุง : อาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช

07.00 น. - 09.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"กระเพาะอาหาร"

ข้อควรปฏิบัติ : กินอาหารเช้า
อาหารบำรุง : ควรมีพลังงานและสารอาหารอย่างน้อย 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25 ของปริมาณที่ควรได้รับตลอดวัน

09.00 น. - 11.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"ม้าม"

ข้อควรปฏิบัติ : พูดน้อย กินน้อย ไม่นอนหลับ
อาหารบำรุง : มันเทศสีแดง หรือเหลือง อาหารที่ทำจากบุก

11.00 น. - 13.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"หัวใจ"

ข้อควรปฏิบัติ : หลีกเลี่ยงความเครียดทั้งปวง
อาหารบำรุง : อาหารที่มีสีแดงตามธรรมชาติ เช่น ถั่วแดงและผลไม้สีแดง น้ำมันปลา วิตามินบีต่างๆ

13.00 น. - 15.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"ลำไส้เล็ก"
ะะะ
ข้อควรปฏิบัติ : งดกินอาหารทุกประเภท
อาหารบำรุง : อาหารไขมันต่ำ น้ำสะอาด

15.00 น. - 17.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"กระเพาะปัสสาวะ"

ข้อควรปฏิบัติ : ทำให้เหงื่อออก (ออกกำลังกาย หรือ อบตัว)
อาหารบำรุง : ผลไม้เะช่น บิลเบอร์รี่ และทานน้ำสะอาดมากๆ

17.00 น. - 19.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"ไต"

ข้อควรปฏิบัติ : ทำตัวให้สดชื่น ไม่ง่วงหงาวหาวนอน
อาหารบำรุง : อาหารที่มีเกลือต่ำ รวมถึงสมุนไพรจีน เช่น ถั่งเฉ้า

17.00 น. - 21.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"เยื่อหุ้มหัวใจ"

ข้อควรปฏิบัติ : ทำสมาธิ หรือสวดมนต์
อาหารบำรุง : อาหารจำพวกโปรตีนที่มีไขมันต่ำ รวมถึงวิตามินบีต่างๆ

21.00 น. - 23.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"ระบบความร้อนของร่างกาย"

ข้อควรปฏิบัติ : ห้ามอาบน้ำเย็น ห้ามตากลม ทำร่างกายให้อบอุ่น
อาหารบำรุง : อาหารที่มีรสเผ็ดร้อน เช่น ขิง โสม

23.00 น. - 01.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ"ถุงน้ำดี"

ข้อควรปฏิบัติ : ดื่มน้ำก่อนเข้านอน
อาหารบำรุง : อาหารที่มีไขมันต่ำ และไม่ทานอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ

วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

อนุสรณ์สถานแห่งประชาธิปไตย (Shrine of Democracy) มีใครบ้าง ?



ประธานาธิบดี 4 คน ที่มีบทบาทสำคัญต่อการประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ ได้แก่
1. จอร์จ วอชิงตัน (George Washington) เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกาในช่วงปี ค.ศ. 1789 - 1797 ท่านเป็นผู้นำกองทัพในการทำสงครามประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ และต่อมาได้รับการยกย่องสถาปนาให้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา ถือว่าท่านคือบิดาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเลยทีเดียว

2. โทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson)
ป็นประธานาธิบดีคนที่สามของสหรัฐฯ ในช่วงปี ค.ศ. 1801 - 1809 ท่านเป็นผู้ร่างคำประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ และขยายดินแดนออกไปกว่าสองเท่าจากทีมีอยู่เดิม โดยการซื้อดินแดนในความปกครองของฝรั่งเศส (Louisiana Purchase) ท่านเป็นผู้มีความสามารถหลายด้าน รวมทั้งผลงานทางสถาปัตยกรรม บ้านของท่านที่มอนติเชลโล รัฐเวอร์จิเนียซึ่งออกแบบด้วยตัวเองได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก้

3. อับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln
) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกา ระหว่างปี ค.ศ. 1861 - 1865 ในช่วงที่ประเทศเข้าสู่ช่วงวิกฤตจากสงครามกลางเมือง (Civil War) ลินคอล์นเกิดมาในครอบครัวชาวนายากจนในรัฐเคนทักกีตอนกลางของประเทศ ศึกษากฎหมายด้วยตัวเองจนเป็นนักกฎหมายท้องถิ่น และไต่เต้าขึ้นมาจนได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีคนแรกจากพรรครีพับลิกัน ท่านนำรัฐฝ่ายเหนือชนะรัฐฝ่ายใต้ในสงครามกลางเมือง เป็นผลให้เลิกทาสได้สำเร็จในสหรัฐอเมริกา ท่านถูกลอบสังหารขณะชมการแสดงอยู่ในโรงละคร เป็นประธานาธิบดีที่เสียชีวิตจากการถูกลอบสังหาร และยังคงเป็นประธานาธิบดีขณะเสียชีวิต

4. ทีโอดอร์ รูสเวลต์ (Theodore Roosevelt)
เป็นผู้นำประเทศในช่วงปี ค.ศ. 1901 - 1909 เป็นประธานาธิบดีคนที่ 26 ของสหรัฐอเมริกา ในบรรดาประธานาธิบดีที่ปรากฏบนเมาต์รัชมอร์ รูสเวลต์เป็นคนที่ถูกตั้งคำถามมากที่สุดว่าเขามีผลงานอย่างไรถึงคู่ควรกับตำแหน่งอนุสาวรีย์บนเขาต่อจากอีกสามท่าน (เช่นเดียวกับที่บารัค โอบามาถูกตั้งคำถามถึงความเหมาะสมกับรางวัลโนเบล) ผลงานที่ประจักษ์ชัดที่สุดของท่านคือการขุดคลองปานามาเชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกและแอตแลนติก ซึ่งช่วยย่นระยะทางการเดินเรือได้อย่างมาก และเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติโดยการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขึ้นหลายแห่งในสมัยที่ท่านเป็นประธานาธิบดี