วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553
รู้จักภัยน้ำท่วม และวิธีการรับมือน้ำท่วม
เมื่อ ย่างเข้าสู่ปลายเดือนพฤษภาคม สายน้ำแห่งความชุ่มฉ่ำ จะค่อย ๆ ไหลรินลงมาจากก้อนเมฆบนท้องฟ้า นั่นหมายความว่า กำลังเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งสายฝนจะตกโปรยปรายลงมาให้ชุ่มฉ่ำ พืชผลทางการเกษตร ดอกไม้ ใบหญ้า จะได้สัมผัสกับน้ำฝนอย่างเต็มที่ เหล่าพายุต่าง ๆ แห่แหนพัดผ่านอยู่เนือง ๆ จนกว่าจะหมดฤดูในช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งก่อนที่น้ำฝนจะเทลงมาในฤดูฝนนั้น เกษตรกรในแถบที่ราบสูงของไทย ต้องเผชิญกับความแห้งแล้งแสนสาหัส ถึงขนาดที่ต้องพึ่งพาโครงการฝนหลวง เพื่อให้ผลผลิตการเกษตรยังคงออกดอกออกผลอยู่ได้ แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนในปีนี้ ความดีใจของเกษตรกรกลับเปลี่ยนแปลงเป็นความทุกข์ใจอีกครั้ง เพราะฝนที่ยังคงตกอย่างต่อเนื่องไม่มีทีท่าว่าจะหยุด ได้เปลี่ยนให้แผ่นดินที่แห้งแล้ง ต้องเผชิญกับน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมสูงจนทะลักเข้าสู่ที่พักอาศัย
อุทกภัย หรือ ที่เราเรียกติดปากว่า น้ำท่วม คือ มหันตภัยร้ายที่เกิดขึ้นโดยเงื้อมมือของธรรมชาติ และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยน้ำท่วมออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
1. น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลันเนื่อง จากฝนที่ตกติดต่อกันหลายชั่วโมง จนผืนดินไม่สามารถดูดซับน้ำได้ทัน น้ำฝนที่เทลงมาจึงไหลลงสู่พื้นราบอย่างรวดเร็ว ซึ่งมักเกิดขึ้นในที่ราบสูง และไหลลงสู่พื้นที่ต่ำกว่า จนทำให้น้ำทะลักเข้าท่วมบ้านเรือน และทรัพย์สินเสียหาย
2. น้ำท่วมขัง และน้ำล้นตลิ่ง เพราะ ฝนที่ตกอย่างหนักทำให้พื้นที่ที่เป็นหลุมเป็นบ่อ มีน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายน้ำออกได้ อีกทั้งน้ำในแม่น้ำลำคลองยังมีปริมาณมากจนล้นตลิ่ง และอาจทะลักเข้าถึงบ้านเรือนได้
ในประเทศไทย เคยเกิดเหตุน้ำท่วมอยู่บ่อยครั้งทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะในแถบภาคเหนือ และภาคอีสาน ไม่เว้นแม้แต่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานครเอง ก็เคยประสบภัยน้ำท่วมมาแล้วเช่นกัน
วิธีรับมือน้ำท่วม
1. หมั่นติดตามข่าวสาร และประกาศเตือนทุกช่องทาง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เสาสัญญาณ เป็นต้น
2. เตรียมข้าวสาร อาหารแห้ง ยารักษาโรค ไฟฉาย และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น ๆ เพื่อเอาตัวรอดในยามน้ำท่วม
3. เตรียมกระสอบทรายไว้เพื่อทำผนังกั้นน้ำ (แต่ห้ามวางไว้พิงกำแพง เพราะจะเพิ่มแรงดันให้น้ำทะลักเข้ามาได้ง่าย)
4. หมั่นทำความสะอาดพื้น ไม่ให้มีของอันตรายหากเกิดน้ำท่วมสูง
5. เก็บของมีค่า และสัตว์เลี้ยง รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้า ไปไว้ชั้นบนของบ้าน
6. เตรียมเบอร์ติดต่อ หน่วยงานของรัฐ เผื่อต้องการความช่วยเหลือ
7. ชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์สื่อสารให้พร้อม
8. หากเกิดน้ำท่วมให้หนีขึ้นที่สูง และปิดวงจรไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
9. พยายามหาส่วนแห้งเพื่อหลบภัย และป้องกันไฟดูด
10. ห้ามรับประทานน้ำที่ท่วมสูง หากขาดแคลนน้ำดื่ม ให้ต้มก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคระบาด
11. หากน้ำท่วมไม่สูงมาก ให้ระวังการใช้รถใช้ถนน และดูแลเด็กเล็กไม่ให้ออกจากบ้าน
12. ระวังสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ หากถูกกัดให้ล้างแผลด้วยน้ำต้มสุกและเช็ดแอลกอฮอล์รอบแผล จากนั้นหาทางไปโรงพยาบาลทันที
หน่วยงานให้ความช่วยเหลือน้ำท่วมและหมายเลขสอบถามข้อมูลน้ำท่วมต่าง ๆ
1. กรมอุตุนิยมวิทยา
- เว็บไซต์ tmd.go.th
- สายด่วนกรมอุตุนิยมวิทยา หมายเลขโทรศัพท์ 1182, 02-398-9830
- สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา กรุงเทพมหานคร (AM 1287 KHz) หมายเลขโทรศัพท์ 02-383-9003-4, 02-399-4394
- สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.นครราชสีมา (FM 94.25 MHz) หมายเลขโทรศัพท์ 044-255-252
- สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.พิษณุโลก (FM 104.25 MHz) หมายเลขโทรศัพท์ 055-284-328-9
- สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ระยอง (FM 105.25 MHz) หมายเลขโทรศัพท์ 038-655-075, 038-655-477
- สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ภูเก็ต (FM 107.25 MHz) หมายเลขโทรศัพท์ 076-216-549
- สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ชุมพร (FM 94.25 MHz) หมายเลขโทรศัพท์ 077-511-421
2. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- เว็บไซต์ disaster.go.th
- สายด่วนนิรภัย หมายเลขโทรศัพท์ 1784
- ขบวนช่วยเหลือน้ำท่วมออกเรื่อย ๆ ขอรับบริจาคเน้นไปที่ น้ำ, ยาแก้ไข้, เสื้อ หมายเลขโทรศัพท์ 02-241-7450-6 แผนที่ disaster.go.th
- หรือสามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ อาคารศาลาว่าการกทม.1 (เสาชิงช้า), ศาลาว่าการกทม.2(ดินแดง) และที่สำนักงานเขตทุกแห่ง
3. ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม จังหวัดนครราชสีมา
- สามารถสอบถามและขอความช่วยเหลือได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 044-342652-4 และ 044-342570-7
4. ศูนย์รับบริจาคเงิน-สิ่งของช่วยผู้ประสบอุทกภัยเนชั่น
- หมายเลขโทรศัพท์ 02-338-3333 และ 02-338-3000 กด 3
5. ครอบครัวข่าวช่อง 3 ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม53
- ชื่อบัญชี "ครอบครัวข่าว ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม53" บัญชีกระแสรายวัน หมายเลข 014-3-003-689 ธนาคารกรุงเทพ สาขาพระราม 4 อาคารมาลีนนท์
6. สน.ประชาชน ทีวีไทย รับแจ้งข้อมูลน้ำท่วม และร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- หมายเลขโทรศัพท์ 02-791-1385-7
7. ศูนย์รับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมใหญ่ที่โคราช รายการเช้าข่าวข้น+อสมท.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น